สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 14-20 สิงหาคม 2563

 

ข้าว
 
1) สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64 รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าว กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิต
ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ วงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม - 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพ
อยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นรวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อยอัตราไร่ละ 500 บาทครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูก
ที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้วเว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,481 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,582 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,196 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,119 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 32,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,250 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,950 ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 979 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,270 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,018 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,414 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.83 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ1,144 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 512 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,831 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 498 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,368 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.81 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 463 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 492 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,212 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 482 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,874 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.07 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 338 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,738 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 505ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,584 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 154 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.9196 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2563/64 ณ เดือนสิงหาคม ผลผลิต 500.049 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 495.731 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2562/63 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2563/64 ณ เดือนสิงหาคม 2563 มีปริมาณผลผลิต 500.049 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 0.87 การใช้
ในประเทศ 496.531 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.15 การส่งออก/นำเข้า 44.268 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 4.37 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 185.187 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63
ร้อยละ 1.94
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย กัมพูชา กายานา อินเดีย แอฟริกาใต้  ไทย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล ปากีสถาน ปารากวัย อุรุกวัย
และเวียดนาม
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน บราซิล เบอร์กินา คาเมรูน เอธิโอเปีย อียู
กานา กินี อิหร่าน เคนย่า มาเลเซีย โมแซมบิค ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล แอฟริกาใต้
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน และไอเวอรี่โคสต์
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังกลาเทศ อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ราคาข้าวปรับขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปลายปี 2554 ท่ามกลางอุปทานข้าวในตลาดที่มีจำกัด ขณะที่ยังมีความต้องการข้าวเพื่อส่งมอบให้ผู้ซื้อในต่างประเทศตามสัญญาที่ค้างอยู่ทั้งจากคิวบา และประเทศในแถบแอฟริกา โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ตันละ 480-490 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากตันละ 470 ดอลลาร์สหรัฐฯ
จากการที่ราคาข้าวเวียดนามปรับขึ้นสูงสุดจากในรอบหลายปี ทำให้ในช่วงนี้ยังไม่มีการทำสัญญาขายข้าวล็อตใหม่ เพราะเกรงว่าจะไม่สามารถจัดหาข้าวได้เพียงพอ ทั้งนี้ การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวจากฤดูการผลิตฤดูร้อน–ฤดูใบไม้ร่วง (the summer-autumn) ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ประกอบกับผู้ค้าข้าวไม่สามารถซื้อข้าวเปลือกจากกัมพูชาเพื่อนำเข้ามา
สีแปรสภาพในเวียดนามได้ เนื่องจากด่านชายแดนยังถูกปิด ซึ่งที่ผ่านมาผู้ค้าข้าวเวียดนามจะซื้อข้าวเปลือกจากฝั่งกัมพูชาประมาณวันละ 1,000 ตัน
กรมศุลกากรเวียดนาม (the Customs Department) รายงานว่า ในเดือนกรกฎาคม 2563 เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 479,633 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยในช่วง 7 เดือนแรก (มกราคม-กรกฎาคม) เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 4 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และร้อยละ 13.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (Ministry of Agriculture and Rural Development; MARD) คาดการณ์ว่า ในปีนี้เวียดนามจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 6.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับจำนวน 6.4 ล้านตัน ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการข้าวในตลาดโลกยังมีอย่างต่อเนื่อง และการแข่งขันในตลาดเอื้อต่อการส่งออกข้าวของเวียดนาม
ที่มา : Oryza

จีน
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า เกษตรกรในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมกำลังวางแผนปลูกข้าวปลายฤดู (late-season rice) (ระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม) เร็วขึ้น เนื่องจากข้าวต้นฤดู (the early-season varieties) ที่ปลูกไปก่อนหน้าได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ขณะที่เกษตรกรทางภาคเหนือกำลังวางแผนเพาะปลูกเร็วกว่าปกติเพื่อเลี่ยง
ความเสียหายจากฝนที่ตกหนักและน้ำท่วม โดยคาดว่าจะเกิดฝนตกหนักทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้
ที่ผ่านมา กระทรวงการจัดการเหตุฉุกเฉินของจีน (Ministry of Emergency Management) คาดการณ์ว่า
พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมทางภาคใต้ของประเทศ จะมีพื้นที่เพาะปลูกเสียหายประมาณ 37 ล้านไร่ และข้าวต้นฤดูที่เพาะปลผ
ในบางพื้นที่จะไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งข้าวต้นฤดูมีการเพาะปลูกตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม และจะเริ่มเก็บเกี่ยวประมาณช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาไปจนถึงกลางเดือนสิงหาคม
ที่มา : Oryza
 
ไต้หวัน
รัฐบาลไต้หวันเข้มงวดการนำเข้าข้าวจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจาก พบว่าข้าวที่นำเข้าส่วนหนึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกในไต้หวัน โดยสำนักการเกษตรและอาหาร คณะกรรมการการเกษตรไต้หวัน (Agriculture and Food Agency) สงสัยว่ามีการลักลอบนำพันธุ์ข้าวในไต้หวันไปปลูกในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นส่งกลับมาขาย
ในไต้หวัน ทั้งนี้ ต้นทุนการปลูกข้าวของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่ำกว่าในไต้หวันมาก หากปลูกแล้วนำกลับมาขายในไต้หวันเกรงว่าจะกระทบต่อราคาข้าวในตลาดไต้หวัน
คณะกรรมการการเกษตรได้ประกาศร่างระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าข้าวเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 และเปิดให้ผู้เกี่ยวข้องคัดค้านหรือแสดงความเห็นภายใน 60 วัน จากนั้นจึงจะประกาศระเบียบอย่างเป็นทางการ คาดว่า
จะมีผลบังคับใช้ต้นปี 2564
นายจวงเหล่าต๋า รองผู้อำนวยการสำนักการเกษตรและอาหาร กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่มีการห้ามนำเข้าข้าวพันธุ์ไต้หวันที่ผลิตในต่างประเทศ เนื่องจากข้าวที่ปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีราคาต่ำกว่าในไต้หวันประมาณครึ่งหนึ่ง ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมทางการค้าจึงประกาศห้ามนำเข้า
ระเบียบดังกล่าว บัญญัติห้ามนำเข้าข้าวพันธุ์ของไต้หวัน ทั้งรูปแบบของข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวเหนียว หรือแม้แต่ข้าวขาวที่ผ่านการขัดสีแล้ว รวมทั้งข้าวหัก แต่ไม่รวมผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป หากพบว่ามีการนำเข้าข้าวพันธุ์ของไต้หวันโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่มีการมอบสิทธิ์จะดำเนินการตามกฎหมายพันธุ์พืชและต้นอ่อน ปรับตั้งแต่ 300,000 ดอลลาร์ไต้หวัน และปรับสูงสุด 1,500,000 ดอลลาร์ไต้หวัน และห้ามนำเข้าสินค้าที่มีอยู่ทั้งหมดอีกด้วย
ตั้งแต่ปี 2560 คณะกรรมการการเกษตรทำการสุ่มตรวจการนำเข้าข้าวพบว่า มีการนำเข้าข้าวพันธุ์ของไต้หวัน
เช่น ข้าวไถหนาน11 ข้าวไถจง192 ข้าวเถาหยวน3 และข้าวไถหนง71 เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาไต้หวันไม่เคยมอบสิทธิ์หรือยินยอมให้มีการส่งออกพันธุ์ข้าวไต้หวันไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายกัวจื่อเจี้ยน กองตรวจสอบฝ่ายผลิตธัญพืช กล่าวว่า ต้นทุนการปลูกข้าวในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อยู่ที่กิโลกรัมละ 18 ดอลลาร์ไต้หวัน แต่ราคาขายส่งข้าวที่ปลูกในไต้หวันอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 32 ดอลลาร์ไต้หวันดังนั้น ถ้าข้าวไต้หวันที่ปลูกในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วนำกลับเข้ามาขายในไต้หวันจะทำให้ได้รับผลตอบแทนสูง ส่งผลกระทบต่อราคาตลาดข้าวที่ปลูกในไต้หวัน นอกจากนี้ ถ้าข้าวพันธุ์ไต้หวันปลูกในต่างประเทศแล้วนำเข้ามาผสมกับ
ข้าวไต้หวันยังสามารถตรวจสอบ DNA ได้ แต่ถ้าข้าวพันธุ์ไต้หวันปลูกต่างประเทศแล้วนำเข้ามาขายในไต้หวัน และมีการหลอกว่าเป็นข้าวไต้หวันจะไม่สามารถตรวจสอบ DNA หรือแยกแยะได้
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย



กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.61 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.06 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.71 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.13
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  9.05 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.86 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.14 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.46 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.31 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 297.20 ดอลลาร์สหรัฐ (9,189 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 292.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,011 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.78 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 178 บาท 
2. สรุปภาวะการผลิต การตาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2563/64 มีปริมาณ 1,164.87 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,121.20 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 3.89 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ เวียดนาม อาร์เจนตินา แคนาดา อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไนจีเรียและอิหร่าน มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 184.64 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 175.55 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 5.18 โดยสหรัฐอเมริกา บราซิล ยูเครน รัสเซีย เซอร์เบีย และแคนาดา ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เม็กซิโก เกาหลีใต้ เวียดนาม อียิปต์ อิหร่าน โคลอมเบีย แอลจีเรีย ไต้หวัน เปรู ซาอุดีอาระเบีย มาเลเซีย โมร็อกโก ชิลี อิสราเอล บราซิล โดมินิกัน กัวเตมาลา ตูนิเซีย และจอร์แดน มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 326.36 เซนต์ (4,028 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 313.65 เซนต์ (3,864  บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.05 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 164 บาท




 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.70 ล้านไร่ ผลผลิต 27.347 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.14 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.67 ล้านไร่ ผลผลิต 31.080 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.35 แต่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 11.98 และร้อยละ 12.45 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคม 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.50 ล้านตัน (ร้อยละ 1.76 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 64.50 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง และหัวมันสำปะหลังมีเชื้อแป้งต่ำ เนื่องจากมีฝนตกชุกและเป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว สำหรับลานมันเส้นส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ ส่วนโรงงานแป้งมันสำปะหลังเปิดดำเนินการไม่มาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.72 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.69 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.78
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.08 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.99 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.50
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.99 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.05 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.98 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.54
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,730 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัว เท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (7,715 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 443 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,697 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (13,670 บาทต่อตัน


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 1.367 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.246 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.502 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.270 ล้านตัน ของเดือนกรกฎาคม คิดเป็นร้อยละ 8.99 และร้อยละ 8.89 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.60 บาท ลดลงจาก กก.ละ 3.70 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.70
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 19.85 บาท ลดลงจาก กก.ละ 20.25 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.98      
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
การส่งออกน้ำมันปาล์มมาเลเซียระหว่างวันที่ 1 – 20 ส.ค. 2563 ลดลง 18.20 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 946,338 ตัน จาก วันที่ 1 – 20 ก.ค. 2563 ที่ 1,157,020 ตัน แต่น้ำมันเมล็ดในปาล์มมีการส่งออกสูงขึ้น 33.01 เปอร์เซ็นต์ โดยตลาดส่งออก 3 อันดับแรก คือ จีน สหภาพยุโรป และอนุทวีปอินเดีย ตามลำดับ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,802.41 ดอลลาร์มาเลเซีย (21.18 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,852.76 ดอลลาร์มาเลเซีย (21.47 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.76  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 693.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21.73 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 703.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.51 
หมายเหตุ :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
         
          ไม่มีรายงาน
 
  1. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
           Czarnikow รายงานว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 อินโดนีเซียนำเข้าน้ำตาลทรายดิบปริมาณ 3.40   ล้านตัน เป็นครั้งแรกที่มีการนำเข้าปริมาณเกิน 3 ล้านตัน ซึ่งสูงกว่าที่เคยนำเข้าในช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 20   
          ทำให้มีความกังวลว่าการเพาะปลูกอ้อยในปีนี้อาจมีคุณภาพไม่ดี และอาจมีการนำเข้าน้ำตาลทรายดิบเพิ่มขึ้นเป็น 5.30 ล้านตัน ในช่วง 12 เดือน


         

 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.50 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.03
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 908.64 เซนต์ (10.47 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 884.44 เซนต์ (10.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.74
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 294.74 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 283.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.28 เซนต์ (21.61 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 31.44 เซนต์ (21.68 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.51


 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.75 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 24.59 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,068.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,070.25 ดอลลาร์สหรัฐ (33.03 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 938.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 939.75 ดอลลาร์สหรัฐ (29.00 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,068.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,070.25 ดอลลาร์สหรัฐ (33.03 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 579.80 ดอลลาร์สหรัฐ (17.93 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 580.75 ดอลลาร์สหรัฐ (17.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,257.40 ดอลลาร์สหรัฐ (38.88 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,259.50 ดอลลาร์สหรัฐ (38.87 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.59
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.95 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.60
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 62.89 เซนต์(กิโลกรัมละ 43.47 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 62.42 เซนต์ (กิโลกรัมละ 43.06 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 (สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.41 บาท)


 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,778 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,828 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.74
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,450 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,458 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.55
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 883 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 

 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่    ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดในภาวะปกติ ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  77.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.14 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 73.36 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 70.30 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.76 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 79.00 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อและชิ้นส่วนต่างๆของไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่มีไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.80บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.26 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท กิโลกรัม ภาคกลาง กิโลกรัมละ 34.07 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.17 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   

ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้เริ่มคึกคัก ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดหลักของไข่ไก่ คือ สถานศึกษาเปิดภาคเรียนเต็มรูปแบบ หลังจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส  โควิค-19 เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเริ่มมีมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 291 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 286 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.75 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 300 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 279 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 293 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 325 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 


ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 341 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 338 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.89 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 353 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 317 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 94.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 94.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.10 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.62 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.27 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 86.97 บาท และภาคใต้ ไม่มีรายงานราคา


กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 74.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 75.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.43 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 71.30 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 

 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 14 – 20 สิงหาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.10 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 86.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.26 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคา  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทยจ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.93 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 142.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.59 บาท
 สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 139.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.12 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.04 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.26 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
 สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา